1.นักวิเคราะห์หุ้นมี3ประเภทคือ
-ประเภทแรกที่ใช้ปัจจัยพื้นฐานในการวิเคราะห์
-ประเภทที่สองใช้สถิติปริมาณในการวิเคราะห์
-ประเภทที่่3ใช้ชาร์ตในการวิเคราะห์
-(แถมท้ายประเภทที่4ใช้ทั้ง3แบบรวมกัน และเรียกตัวเองว่านักกลยุทธ์)
2.นักวิเคราะห์ไม่ถูกห้ามให้เล่นหุ้น เพียงแต่ต้องแจ้งในบทรายงานวิเคราะห์ว่าเขา(หรือเธอ)มีการลงทุนในหุ้นตัวนั้นๆอยู่หรือไม่ เพื่อไม่ให้ขัดแย้งทางผลประโยชน์(Conflict of interest)
3.นักวิเคราะห์มักจะทำการวิเคราะห์หุ้นขนาดใหญ่สภาพคล่องซื้อขายมากๆ(เช่นหุ้นในSET50หรือSET100)เป็นหลักก็เนื่องจากว่าบริษัทขอให้วิเคราะห์ตามที่ลูกค้ารายใหญ่(กองทุน ฝรั่ง รายใหญ่มากๆ)ขอมา ส่วนหุ้นเล็กๆหรือขนาดกลางมักไม่ถูกวิเคราะห์
4.นักวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐานจะดูผลดำเนินงานย้อนหลัง หรือ ณ งวดนั้นๆที่ประกาศงบออกมา หรือสัมภาษณ์ผู้บริหาร ประมาณการณ์อนาคต โดยวิอเคราะห์อุตสาหกรรม วิเคราะห์ธุรกิจแล้วประเมินมาเป็นราคาปัจจัยพื้นฐานที่เหมาะสม หากราคาในกระดานต่ำกว่าราคาเหมาะสม จะแนะนำให้"ซื้อ" หากราคาในกระดานสูงกว่าจะแนะนำให้"ขาย" หากราคาใกล้กันอาจแนะนำให้"ถือ" ทั้งนี้ไม่ได้สนใจว่า จังหวะเวลานั้นๆควรจะซื้อหรือขายหรือไม่ เพราะไม่อยู่ในขอบข่ายของการวิเคราะห์
5.นักวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือดูชาร์ตเป็นหลัก จะไม่สนใจเรื่องตามข้อที่ 4 แต่พวกเขา(หรือเธอ)จะสนใจว่าจังหวะเวลาสถานการณ์นั้นๆควรเข้าซื้อ หรือถือ หรือขาย และหากซื้อหรือขายแล้วหุ้นมีเป้าหมายจะตกไป หรือขึ้นไปเท่าไหร่ โดยที่ไม่ได้สนใจว่าพื้นฐานหุ้นตัวนั้นเป็นอย่างไร โดยพวกเขา(หรือเธอ)มีสมมุติฐานว่าราคาหุ้นได้สะท้อนต่อปัจจัยพื้นฐานในอดีต ณ ปัจจุบัน และในอนาคตไว้ในความเคลื่อนไหวของราคาแล้ว
6.นักกลยุทธ์การลงทุนจะนำจุดเด่นของนักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน(ตามข้อ4) และนักวิเคราะห์ทางเทคนิค(ตามข้อ5)มาผสมกัน โดยหากเห็นพื้นฐานดีหรือแย่ก็ไปหาจุดซื้อหรือขายด้วยชาร์ตทางเทคนิค และอาจนำข้อมูลข่าวสาร ปัจจัยทั้งภายใน ภายนอกเข้ามาประมวลร่วมด้วย ก่อนกำหนดกลยุทธ์การลงทุน
7.ที่นักวิเคราะห์เขียนหรือพูดว่าหุ้นมีแนวรับหรือแนวต้านเท่าไหร่ แทนที่จะพูดหรือเขียนว่าให้ซื้อหรือขายเท่าไหร่ ก็เพราะแม้นักวิเคราะห์ฺคนนั้นๆจะมีใบอนุญาตจากกลต. แต่การพูดหรือเขียนเผยแพร่ทางสื่อ ยังต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาคมนักวิเคราะห์อีกด้วย หากไม่ได้รับอนุญาตจะแนะันำซื้อหรือขายไม่ได้ ก็เลยต้องบอกเป็นแนวรับ หรือแนวต้านแทน
8.ที่นักวิเคราะหฺ์เขียนรายงานเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ได้เพื่อทำให้รายงานนั้นดูดี หรือดูว่าเธอหรือเขาเก่งภาษาอังกฤษ แต่เพราะว่ามีลูกค้าชาวต่างประเทศอ่านอยู่้ด้วย (ส่วนลูกค้าคนไทยจะไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร...ก็อยากอ่านไม่รู้เรื่องเอง อิอิ)
9.นักวิเคราะห์ไม่มีรายได้เป็นค่าคอมมิสชั่น หรือรายได้พิเศษอะไรอื่นจากบริษัทโบรกเกอร์ นอกจากเงินเดือน และโบนัสประจำปีั พวกเขาหรือเํธอจึงไม่ใช่มนุึษย์ทองคำ(แบบพนักงานการตลาด หรือมาร์เก็ตติ้ง) เวลาบริษัทโบรกเกอร์แย่ๆก็มักจะเล็งมาลดเงินเดือนหรือปลดนักวิเคราะห์ก่อนฝ่ายอื่นๆเสมอ ทำให้วงการเสียนักวิเคราะห์ดีๆไปมาก ต้องหนีไปเป็นมาร์ หรือทำงานเป็นผู้จัดการกองทุนไป
10.นักวิเคราะห์เป็นอาชีำำพเทกระโถนประจำวงการ หากผิดมา มาร์เก็ตติ้งจะบอกว่านักวิเคราะห์ห่วย แต่หากถูกมา มาร์เก็ตติ้งจะได้หน้า ได้ตังค์ ได้หลั่ลล๊ารางวัลพิเศษ..เราจึงเรียกอาชีพนี้อีกอย่างว่านักรับเคราะห์
11.นักวิเคราะห์ไม่เคยผิด แต่เพราะสถานการณ์สภาพแวดล้อมต่างๆเปลี่ยนแปลงไปนอกเหนือการคาดการณ์ ดังนั้นนักวิเคราะห์จึงต้องทบทวนบทวิเคราะห์ใหม่ เป็นปรับเป้าหมายขึ้น หรือปรับเป้าหมายลง เราจึงไม่เคยหรือไม่ค่อยได้ยินคำขอโทษจากนักวิเคราะห์
12.นักวิเคราะห์์หรือสมาคมนักวิเคราะห์ไม่เคยหยิบยกประเด็นที่ถูกนิืนทาว่า"รับงาน"รายใหญ่(ฝรั่ง กองทุน รายใหญ่มากๆ)ในการเชียร์ซื้อเพื่อให้ขาใหญ่ออกของ หรือเชียร์ขายเพื่อให้ขาใหญ่เก็บศพแต่อย่างใด และเสียงนินทาก็มีมาทุกสมัย
สมาคมนักวิเคราะห์จัดการแก้ไขเรื่องนี้ด้วยการนำบทวิเคราะห์มาเปรียบเทียบ หรือConsensusกัน เพื่อให้นักลงทุนได้พิจารณาเปรียบเทียบอย่างรอบด้านแทน
ตัวอย่างConsensus (อยากดูตัวไหนก็ใส่รายชื่อเข้าไปตรงมุมขวาบนแล้วคลิ้กEnter)
http://www.settrade.com/AnalystConsensus/C04_10_stock_saa_p1.jsp?selectPage=10&txtSymbol=THAI
13.ไม่เคยมีนักวิเคราะห์รายใดได้รับการยกย่องว่าเป็นนักลงทุนเอกของโลกจนพวกเขาได้ชื่อว่ารวยหุ้นติดอันดับโลกแต่อย่างใด...ยกเว้นแต่ว่าพวกเขาเลิกเป็นนักวิเคราะัห์ไปลงทุนเ้ิอง
ดังกรณีของปีเตอร์ ลินซ์ (PETER LYNCH)