โดย ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์ ที่ปรึกษาการลงทุนใบอนุญาตเลขที่12888 บลป.ต้นธารคอร์ปอเรชั่น โทร.029275800 081-8311611 087-7174979 http://www.facebook.com/tontancorp
เป็นบทความที่ผมเคยเสนอมาแล้ว
ผมว่าน่าจะนำมาประยุกต์ใช้กับวิกฤตการณ์การเมืองเที่ยวนี้ได้
เลยนำเสนอให้พิจารณากันอีกทีครับ
บทความพิเศษ:“บรรยากาศทางการเมืองแบบประชาธิปไตย
(ไทยๆ) กับการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์” ว่าด่วยทฤษฎีทำลายเชิงสร้างสรรค์
การพลิกวิกฤตเป็นโอกาสทองของการลงทุน โดย ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์ ประธานกรรมการ
บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน ต้นธารคอร์ปอเรชั่น จำกัด
บทความนี้เขียนเพื่อแสดงปาฐกถาในการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 1 ของสมาคมรัฐศาสตร์ แห่งหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2555 ณ โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี การนำเสนอเผยแพร่ในโอกาสนี้ เป็นฉบับคัดย่อ ปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์การเมือง ณ เวลานี้
ตลาดหุ้นไทยกับวิกฤตการณ์การเมืองเที่ยวนี้ที่แบ่งเป็น3ช่วง
- ระยะแรก (เฟส1) ก่อนจะเกิดวิกฤตการณ์แตกหัก(สงครามระหว่างรัฐ/สงครามกลางเมือง/จลาจล/ปฏิวัติรัฐประหาร/อภิปรายซักฟอกรัฐบาล/พิบัติภัยต่างๆตามธรรมชาติ หรือโรคระบาด/การสูญเสียผู้นำฯลฯ เที่ยวล่าสุดนี้คือก่อนสิ้นเดือนพฤศจิกายนที่ผู้นำม็อบประกาศจะโค่นล้มรัฐบาลให้สำเร็จ) ระหว่างที่ฮึ่มฮั่มใส่กันไปมานั้น ตลาดหุ้นมักจะตกกันแบบโลกาวินาศ เพราะความหวาดกลัวจับขั้วหัวใจว่าจะบานปลายไปเป็นวิกฤตการณ์ใหญ่ กลัวจะเกิดทุพภิกขภัยสารพัด ทำให้คนในตลาดหุ้นเทขายหนีตายกันจ้าละหวั่น...ความกลัวทำให้หุ้นตก
- ระยะที่สอง (เฟส2) ในช่วงระหว่างเตรียมพร้อมไพร่พลเสบียงกรัง และออกข่าวจะเปิดเกมถล่มกัน ให้บรรลัยกันไปข้าง ตลาดหุ้นมักจะซึมกระทือ คนเลิกเล่นหุ้นกันไปส่วนใหญ่ กรอบความเคลื่อนไหวมักจะแคบๆ เพราะคนทำใจได้แล้วว่าเลี่ยงภาวะสงครามไม่ได้แน่ แต่ก็ไม่กล้าเสี่ยงเข้ามาเล่นในตลาด…ความทรมานคือการรอคอย(ผมคิดว่าจะเกิดในสัปดาห์หน้า หลังม็อบใหญ่24พ.ย.ไปจนถึง30พ.ย.)
- ระยะที่สาม (เฟส3) นับตั้งแต่ช่วงเปิดใส่กัน ที่ผมมักเรียกว่า”กระสุนนัดแรกในสงคราม” หรือ เสียงปืนแตกนัดแรก หรือระเบิดตูมแรก ไปจนกว่าจะยุติสงคราม หรือคาดเดาได้ว่าสงครามครั้งนั้นจะมีผลลงเอยไปในทิศทางใด ก็แปลกที่ว่า ตลาดหุ้นช่วงนี้มักจะดีดตัวขึ้นแล้วก็วิ่งยาว ( rally) และไม่ช้าไม่นานมักจะขึ้นไปสร้างสถิติทำจุดสูงสุดใหม่ (new high)กันทุกครั้งไปเสียด้วย…เที่ยวนี้คือวันที่30พ.ย.จะล้มรัฐบาลสำเร็จหรือไม่สำเร็จ
ไม่ว่าบทสรุปจะจบอย่างไร ใครแพ้-ชนะไม่เกี่ยว
ขอให้จบ ไม่คลุมเครือต่อไป หุ้นจะขึ้น และขึ้นไปนิวไฮเกินยอดเก่า1480จุดที่ทำเอาไว้
ผมเลยเรียกปรากฏการณ์วิกฤตการณ์ต่างๆที่มีต่อตลาดหุ้นว่าเข้าข่าย “ ทฤษฎีสร้างสรรค์ในเชิงทำลาย เข้าทำนองว่าเมื่อมีการทำลายล้างสิ่งหนึ่งลงไป ก็จะเกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าตามมา
อย่างสมัยโบราณ เมื่ออาณาจักรกรีก-อียิปต์โบราณถูกทำลายลง หรือเสื่อมลง จึงเกิดอาณาจักรโรมันอันยิ่งใหญ่กว่าขึ้นทดแทน และเมื่อโรมถูกทำลายล้างลง จึงเข้าสู่ยุคกลางที่มีมหาอำนาจอังฤษเป็นแดนพระอาทิตย์ไม่ตกดิน เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเกิดมหาอำนาจใหม่คือจักรวรรดิอมเริกามาแทนที่ ดังนี้เป็นต้น
ทฤษฎีสร้างสรรค์ในเชิงทำลาย (destruction creative theory)ที่ว่า สงคราม/วินาศกรรม/วิกฤตการณ์ในระดับโลกทุกครั้ง จึงเป็นโอกาสทองทุกครั้งสำหรับนักลงทุนผู้มีพฤติกรรม contrariant หรือนักลงทุนผู้ชาญฉลาดที่หาจังหวะจับทางสวนกระแสคนส่วนใหญ่ในตลาด
การอินไปกับปรากฎการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ทำให้คุณตกเป็นเหยื่อของวิกฤตการณ์ แต่การพลิกไปมองอีกด้านว่า วิกฤตการณ์ล้วนเป็นปกติที่อยู่คู่กับตลาด จบเรื่องนี้ก็มีเรื่องใหม่มาให้ได้เผชิญ จะทำให้คุณพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้อย่างแท้จริง
ผมเลยเรียกปรากฏการณ์วิกฤตการณ์ต่างๆที่มีต่อตลาดหุ้นว่าเข้าข่าย “ ทฤษฎีสร้างสรรค์ในเชิงทำลาย เข้าทำนองว่าเมื่อมีการทำลายล้างสิ่งหนึ่งลงไป ก็จะเกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าตามมา
อย่างสมัยโบราณ เมื่ออาณาจักรกรีก-อียิปต์โบราณถูกทำลายลง หรือเสื่อมลง จึงเกิดอาณาจักรโรมันอันยิ่งใหญ่กว่าขึ้นทดแทน และเมื่อโรมถูกทำลายล้างลง จึงเข้าสู่ยุคกลางที่มีมหาอำนาจอังฤษเป็นแดนพระอาทิตย์ไม่ตกดิน เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเกิดมหาอำนาจใหม่คือจักรวรรดิอมเริกามาแทนที่ ดังนี้เป็นต้น
ทฤษฎีสร้างสรรค์ในเชิงทำลาย (destruction creative theory)ที่ว่า สงคราม/วินาศกรรม/วิกฤตการณ์ในระดับโลกทุกครั้ง จึงเป็นโอกาสทองทุกครั้งสำหรับนักลงทุนผู้มีพฤติกรรม contrariant หรือนักลงทุนผู้ชาญฉลาดที่หาจังหวะจับทางสวนกระแสคนส่วนใหญ่ในตลาด
การอินไปกับปรากฎการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ทำให้คุณตกเป็นเหยื่อของวิกฤตการณ์ แต่การพลิกไปมองอีกด้านว่า วิกฤตการณ์ล้วนเป็นปกติที่อยู่คู่กับตลาด จบเรื่องนี้ก็มีเรื่องใหม่มาให้ได้เผชิญ จะทำให้คุณพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้อย่างแท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น