เขียนโดย ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์
ที่มา หนังสือเล่ม ความลับที่4 จิตวิทยามวลชนในตลาดหุ้น
1.ทำไมตลาดหุ้นไทยตกหนัก?
ตอบ-เป็นเรื่องที่คนถามก็ทราบคำตอบดี
แต่ไม่กล้าถามตรงๆ ดังนั้นผมเองก็ไม่กล้าตอบตรงๆ เพราะเป็นประเด็น”ละเอียดอ่อน”ครับ
กรณีนี้เปรียบไปก็เหมือนเรานั่งอยู่ในห้องประชุมหนึ่ง
มีคนนับร้อยมาประชุมกันอยู่ แล้วในห้องประชุมนั้นก็มีช้างเชือกใหญ่ยืนอยู่กลางห้องอยู่ด้วย
แต่คนนับร้อยในห้องประชุมนั้นก็แสร้งทำเป็นมองไม่เห็นช้าง
หรือไม่รับรู้ว่ามีช้างอยู่กลางห้องประชุมนั้น
เพราะการพูดถึงช้างนั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เราก็เลยทำเป็นไม่รับรู้ว่ามีช้างอยู่ในห้องนั้นซะเลย
ช้างนั้นไม่ได้เป็นปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่คนในที่ประชุมนั้นนับร้อย ลงมติกันในใจว่าเราจะไม่พูดถึงช้าง ช้างนั้นเลยอยู่ในสภาพล่องหนได้อย่างน่ามหัศจรรย์
2.แล้วยังจะตกหนักต่อไปหรือไม่?
ตอบ-ดังที่ผมอธิบายมาบ่อยๆแล้วก็คือ ตลาดหุ้นนั้นไม่ได้ขึ้นหรือตก เพราะกลัวข่าวร้าย หรือเพราะมีข่าวดีนะครับ
ที่ตลาดตกหนักนั้น เพราะกลัวข่าวที่คลุมเครือ ไม่ชัดเจน ไม่กระจ่างว่า อะไรยังไงแน่ พอมีความไม่ชัดเจน คลุมเครือ ตลาดหุ้นก็เลยตก
แต่หากเกิดความชัดเจน ไม่คลุมเครือ ตลาดหุ้นก็จะหยุดตกและขึ้นครับ ซึ่งว่าไปแล้วเรื่องนี้มีความชัดเจนมากแล้วว่า เรื่องจะจบลงอย่างไร และอนาคตจะเป็นเช่นใด ไม่ใช่เรื่องที่ว่า เดาไม่ได้ หรือสับสนคลุมเครือแต่อย่างใด(ซึ่งก็แสดงว่าเมื่อชัดเจนกระจ่างแล้ว ตลาดหุ้นก็ควรขึ้นขานรับครับ)
3.ทำไมกองทุนขายหนักจังเลย?
ตอบ-ผมคิดว่ากองทุนนั้นคงรู้อะไรซักอย่างที่ นักลงทุนประเภทอื่นๆ(เช่น นักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนรายย่อย ไม่รู้) เรื่องนี้ผมได้เขียนไว้หนังสือเล่มที่กำลังออกวางแผงในวันที่18เดือนกันยายนนี้ครับ ขอคัดมาบางตอน ดังต่อไปนี้...
เพราะการพูดถึงช้างนั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เราก็เลยทำเป็นไม่รับรู้ว่ามีช้างอยู่ในห้องนั้นซะเลย
ช้างนั้นไม่ได้เป็นปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่คนในที่ประชุมนั้นนับร้อย ลงมติกันในใจว่าเราจะไม่พูดถึงช้าง ช้างนั้นเลยอยู่ในสภาพล่องหนได้อย่างน่ามหัศจรรย์
2.แล้วยังจะตกหนักต่อไปหรือไม่?
ตอบ-ดังที่ผมอธิบายมาบ่อยๆแล้วก็คือ ตลาดหุ้นนั้นไม่ได้ขึ้นหรือตก เพราะกลัวข่าวร้าย หรือเพราะมีข่าวดีนะครับ
ที่ตลาดตกหนักนั้น เพราะกลัวข่าวที่คลุมเครือ ไม่ชัดเจน ไม่กระจ่างว่า อะไรยังไงแน่ พอมีความไม่ชัดเจน คลุมเครือ ตลาดหุ้นก็เลยตก
แต่หากเกิดความชัดเจน ไม่คลุมเครือ ตลาดหุ้นก็จะหยุดตกและขึ้นครับ ซึ่งว่าไปแล้วเรื่องนี้มีความชัดเจนมากแล้วว่า เรื่องจะจบลงอย่างไร และอนาคตจะเป็นเช่นใด ไม่ใช่เรื่องที่ว่า เดาไม่ได้ หรือสับสนคลุมเครือแต่อย่างใด(ซึ่งก็แสดงว่าเมื่อชัดเจนกระจ่างแล้ว ตลาดหุ้นก็ควรขึ้นขานรับครับ)
3.ทำไมกองทุนขายหนักจังเลย?
ตอบ-ผมคิดว่ากองทุนนั้นคงรู้อะไรซักอย่างที่ นักลงทุนประเภทอื่นๆ(เช่น นักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนรายย่อย ไม่รู้) เรื่องนี้ผมได้เขียนไว้หนังสือเล่มที่กำลังออกวางแผงในวันที่18เดือนกันยายนนี้ครับ ขอคัดมาบางตอน ดังต่อไปนี้...
ในปี ค.ศ.2001 รางวัลโนเบล
สาขาเศรษฐศาสตร์ตกเป็นของศาสตราจารย์ จอร์จ เอ. อเคอร์ลอฟ (GEORGE A. AKERLOF) ศาสตราจารย์ เอ. ไมเคิล สเปนซ์ (A. MICHAEL SPENCE)
และศาสตราจารย์ โจเซฟ อี.สติกลิตซ์ (JOSEPH E. STIGLITZ)
ทั้งสามท่านมีผลงานร่วมกัน สรุปความว่า
“ตลาดสินค้า
บริการ ตลาดเงิน และตลาดทุนตลาดหุ้นนั้น
เกิดจากผู้ที่มีส่วนร่วมในตลาดมีความรู้และข้อมูลที่แตกต่างกัน
พฤติกรรมทางเศรษฐกิจจึงแตกต่างกัน การที่ผู้คนที่มีส่วนร่วมในตลาดไม่เท่ากันนี้
เรียกว่า ASYMMETRIC
INFORMATION คือมีข้อมูลข่าวสารที่บางคนรู้ บางคนไม่รู้
หรือบางคนรู้ดีกว่าบางคน บางคนบางกลุ่มมีข้อมูลสมบูรณ์
สรุปคือยังมีข้อมูลในตลาดที่ไม่มีทางรู้เท่าเทียมกันในตลาด”
ผลงานของโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปี
2001 ของ 3 นักเศรษฐศาสตร์นี้ได้เริ่มค้นคว้าศึกษาในช่วงปลายทศวรรษ 1970
มาจนถึงปัจจุบัน นับว่าปฏิวัติทฤษฎีเก่าแก่อันอุโฆษคือ“WEALTH OF THE
NATION”ของ อดัม สมิธ ที่ลงหลักปักฐานมานาน 200 ปีเศษ
ตำราเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่ร่ำเรียนเขียนอ่านกันสืบเนื่องมาแต่บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์นั้น ให้ขอสมมุติฐานว่ามนุษย์มีพฤติกรรมเป็นไปตามเหตุผลเสมอ
(RATIONAL MAN) ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคต่างก็ดำเนินกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการทำกำไรสูงสุดสำหรับผู้ผลิต
หรือการได้รับความพึงพอใจสูงสุดจากการบริโภคสินค้าหรือบริการสำหรับผู้บริโภค
อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยล่าสุดด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (BEHAVIORAL ECONOMICS)โดยนักจิตวิทยาชาวยิวอิสราเอล 2 คน คือ แดเนียล คาห์เนมัน และ เอมอส เวอร์สกีย์ (อ้างไว้ในหนังสือเล่มชื่อ THE ECONOMIC NATURALIST เขียน
โดย
ROBERT
H. FRANK ศาสตราจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์แนล)
ได้แสดงให้เห็นว่า ทางเลือกที่มีให้เพื่อการตัดสินใจของมนุษย์
บ่อยครั้งถูกสร้างขึ้นจากแรงผลักดันทางจิตวิทยา เพื่อสร้างและดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของปัจเจกบุคคลและกลุ่ม...ความคิดนี้ช่วยอธิบายทางเลือกต่าง
ๆ ที่อาจมีตรรกะไม่สอดคล้อง
หรือไม่เป็นไปตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิมที่เคยร่ำเรียนกันมา
ในตอนที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ในสหรัฐฯเมื่อปี
พ.ศ.2551 ยังผลให้สถาบันการเงินระดับโลกอย่าง LEHMAN BROTHERS ต้องล้มลงในเดือนกันยายนปีนั้น
ต่อมาในปลายเดือนตุลาคม คณะกรรมาธิการการเงินได้เชิญนาย ALAN
GREENSPAN อดีตประธานธนาคารกลางแห่งสหรัฐฯ
มาให้การต่อที่ประชุม CAPITOL HILL ซึ่งกรีนสแปนในฐานะผู้ที่ได้รับความเชื่อมั่นสูงสุดยิ่งผู้หนึ่งในโลกเศรษฐกิจร่วมสมัยได้ให้ปากคำเรื่อง”วิกฤตการเงินและบทบาทของธนาคารกลาง”
โดยได้บอกกล่าวว่าเกิดความผิดพลาดอะไรขึ้นบ้าง
หลังกรีนสแปนกล่าวจบลง นาย HENRY WAXMAN ประธานคณะกรรมาธิการได้โพล่งถามขึ้นว่า”กล่าวในทางหนึ่ง...คุณได้พบว่าทัศนะของคุณต่อโลก,โลกทัศน์ของคุณไม่ถูกต้อง
มันไม่เวิร์ก?”
“แน่นอน”กรีนสแปนตอบชนิดที่โลกตะลึง
“แน่นอนว่าด้วยเหตุนี้ทำให้ผมช็อก เพราะผมทำงานมา 40 กว่าปีด้วยความสุขุมคัมภีร์ภาพและเป็นที่ประจักษ์ว่ามันทำงานได้ดีโดยไม่เคยมีข้อยกเว้นมาก่อน”
ครับ...สิ่งที่กรีนสแปนเชื่อมั่นยึดถือมาตลอดนั้นก็คือสิ่งที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องทฤษฏี
เศรษฐกิจการตลาดที่มีเหตุผล (RATIONAL MARKET THEORY)ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อสมมุติฐานว่าตลาดมีประสิทธิภาพ
(EFFICIENT MARKET HYPOTHESIS) อันว่าตลาดที่มีประสิทธิภาพนั้นคือการกำหนดราคาสินทรัพย์
เช่น ราคาหุ้น ให้ตรงกับปัจจัยพื้นฐานมีความเที่ยงตรงแม่นยำสูง
เพราะได้สะท้อนข้อมูลทุกอย่างไว้อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว
JUSTIN FOX บรรณาธิการอำนวยการของ HARVARD BUSINESS REVIEW และอดีตคอลัมนิสต์ด้านเศรษฐกิจของ
TIME MAGAZINE ได้ยกเรื่องกรีนสแปนข้างต้นนั้นเขียนลงในบทนำหนังสือของเขาที่ตีพิมพ์ในเดือนกันยายน
2553 ชื่อเรื่อง “THE MYTH OF THE RATIONAL MARKET” (ปรัมปรามายาคติของตลาดที่มีเหตุผล)
โดยบอกว่าหนังสือเล่มนี้ว่าด้วยประวัติของการเกิดขึ้น...รุ่งเรือง และโรยราลงของทฤษฎีเก่าแก่
THE RATIONAL MARKET THEORY
เอาเป็นว่าหนังสือเล่มนี้สนุกมาก
ผมแนะนำให้หาอ่านกันครับ...อ้อ PAUL KRUGMAN
นักเศรษฐศาสตร์ชื่อก้องโลกแนะนำว่าเป็นหนังสือที่ต้องอ่าน “A MUST-READ”ด้วยครับ
พูดให้ง่ายเข้าแบบผมก็ต้องว่า
เนื่องจากเศรษฐกิจการตลาด และตลาดหุ้นถูกพิสูจน์ว่าเป็นตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้นจะใช้ตำราเล่มเก่าว่าด้วย “ตลาดที่มีเหตุผล” (RATIONAL MARKET) โดยอาศัยเพียงว่ามีความรู้ความเข้าใจมีทักษะที่ดีทั้งด้าน
FUNDAMENTAL+TECHNICAL+PORTFOLIO MGT. นั้น
ไม่เพียงพอเสียแล้ว...เอาให้ครบเครื่องต้องรู้เรื่องความลับที่4ในตลาดหุ้น คือ MASS
PSYCHOLOGY ด้วยครับนี่คือที่มาของชื่อหนังสือที่กำลังออกใหม่ วางแผงในวันที่ 18 เดือนนี้ครับ รอติดตามได้ตามแผงหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น