วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์:พรบ.นิรโทษกรรมจะไม่จุดชนวนการเมืองรุนแรง เหตุไม่ครอบคลุมคุณทักษิณ และผลกระทบต่อหุ้นมีจำกัด และลูกสูตรจะพลิกวิกฤตเป็นโอกาสลงทุนได้อย่างไร..?


รายการรู้ก่อนรวยกว่า26กรกฎาคม-ลูกสูตรhow to tradeสถานการณ์ตลาดหุ้นในภาวะวิกฤตการเมือง ทำอย่างไรพลิกวิกฤตเป็นโอกาสลงทุน ชี้ตลาดเข้าช่วงซึมรอเหตุการณ์เคลียร์แล้วขึ้นnew highเกิน1520

ที่มา:www.ilaw.or.th


โดย ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์ ที่ปรึกษาการลงทุนใบอนุญาตเลขที่12888 บลป.ต้นธารคอร์ปอเรชั่น โทร.029275800 081-8311611 087-7174979 http://www.facebook.com/tontancorp

ตลาดหุ้นไทยวันนี้ เปิดภาคบ่าย ลงหนักกว่าตลาดอื่นในย่านเอเชีย คือลงมาเขต1475 หรือ-1.7%(ตอนจบปิดที่1456 -45จุด หรือ-2.98%) โดยหันมาอิงเรื่องกังวลการเมือง เรื่องที่พรรคฝ่ายรัฐบาลจะเสนอร่างพรบ.นิรโทษกรรมทางการเมืองเข้าสู่ที่ประชุมสภา 7 สิงหาคม และเกรงจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทางการเมือง เพราะภาพหลอนเรื่องการเมืองที่ตึงเครียดช่วง6ปีที่ผ่านมากลับมาหลอนคนในตลาดอีกครั้ง

แต่ผมคิดว่า จะไม่รุนแรงมากนัก เหตุก็เพราะว่าพรบ.ฉบับนี้ไม่ได้นิรโทษกรรมให้คุณทักษิณ ที่ตกเป็นเป้าหมายของการต่อต้านครับ
 


ที่มา:www.ilaw.or.th

พรบ.นิรโทษฉบับสส.วรชัย นิรโทษให้่ใครบ้าง? และมีผลต่อตลาดหุ้นอย่างไร..?

เนื่องจากเป็นฉบับที่พรรคเพื่อไทยลงมติจะนำเสนอสภา7ส.ค.นี้ คนรอดมีดังนี้

*กลุ่มม็อบพันธมิตรปิดสนามบิน ยึดทำเนียบ สภา
*กลุ่มเสื้อแดงที่ม็อบมาหลัง19ก.ย.(ละเมิดพรก.,ศาลากลาง)
*ยังไม่ชัดเจน ผู้ทำผิดคดีหมิ่น112,คนเผาห้าง

กลุ่มที่ไม่ครอบคลุม คือ

*แกนนำม็อบ(พันธมิตร,หลากสี,เสื้อแดง) ทักษิณ และอดีตรัฐบาลของคุณอภิสิทธิ์
*ทหารระดับบัญชาการ และระดับปฏิบัติ

ความเห็นของผม:หากไม่้มีการครอบคลุมถึงคุณทักษิณ กระแสต้านก็คงไม่หนักหนารุนแรงครับ แต่เป็นธรรมดาเวลามีข่าวทำนองนี้(ปัจจัยเสี่ยงการเมือง) หุ้นก็จะตกลงมาก่อนด้วยความวิตกกังวลกว่าเหตุ แต่พอถึงเวลาจริงๆก็ไม่ตก หรือขึ้น เมื่อคนในตลาดพบว่า ไม่ได้ร้ายแรงหรือหนักหนาอย่างที่คาดการณ์


แนวโน้ม-เวลาที่เกิดวิกฤตการณ์เมือง ตลาดหุ้นจะแบ่งเป็น3ช่วง คือ ช่วงที่1ลงแรงแบบpanic sell เพราะวิตกจะเกิดปัจจัยเสี่ยงทางการเมือง คือช่วงนี้ เป้าลงอาจเป็น1456 ที่ลงมาเมื่อวาน หรือ1440 แย่สุดอาจเป็น1400-1415 จุด จากนั้นเข้าช่วงที่2คือซึมออกด้านข้างรอดูเหตุการณ์ อาจแกว่งในกรอบ1400-1500+/- (หรือกรอบ1450-1500+/-) และช่วงที่3เมื่อสถานการณ์เคลียร์ อย่างรอบนี้คือพอพรบ.นิรโทษกรรมผ่านสภาก็ขึ้น และจะขึ้นทำจุดสูงใหม่กว่าพีคเก่าที่ทำไว้1520 ก็น่าขึ้นไปตั้งแต่1550-1650หลัง7สิงหาคม

กลยุทธ์รายวัน-จับตามองว่ายืนเหนือเขต1440-1450หรือไม่ ถ้าได้ก็เข้าซื้อเล่นสั้น และเด้งขึ้นไปหากไม่ผ่านแนวต้านเขต1470ก็ขายทำกำไร เว้นแต่ผ่านไปรอขาย1490+/-


กลยุทธ์รายสัปดาห์-รอดูเหตุการณ์ไปจนใกล้ๆวันที่7สิงหาคม ช่วงที่ตลาดหุ้นซึมตัวปลายๆแล้วไปซื้อก่อน7สิงหาคม หรือในวันที่7สิงหาคม เพื่อไปรอขายตอนขึ้นไปนิวไฮเกิน1520จุด

********

ลูกสูตรพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในตลาดหุ้นได้อย่างไร?

3ช่วงของการทำลายเชิงสร้างสรรค์ในตลาดหุ้น-วิกฤตการณ์ต่างๆที่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นนั้น จะมีรูปแบบ(pattern)ที่เหมือนกันทุกครั้ง คือพอจะแบ่งได้ 3 ระยะด้วยกัน

ตลาดหุ้นไทยกับวิกฤตการณ์ม็อบแช่แข็งประเทศไทยที่แบ่งเป็น3ช่วง

- ระยะแรก (เฟส1) ก่อนจะเกิดวิกฤตการ
ณ์ ระหว่างที่ฮึ่มฮั่มใส่กันไปมานั้น ตลาดหุ้นมักจะตกกันแบบโลกาวินาศ เพราะความหวาดกลัวจับขั้วหัวใจว่าจะบานปลายไปเป็นวิกฤตการณ์ใหญ่ กลัวจะเกิดทุพภิกขภัยสารพัด ทำให้คนในตลาดหุ้นเทขายหนีตายกันจ้าละหวั่น...ความกลัวทำให้หุ้นตก

- ระยะที่สอง (เฟส2) ในช่วงระหว่างเตรียมพร้อมไพร่พลเสบียงกรัง และออกข่าวจะเปิดเกมถล่มกัน ให้บรรลัยกันไปข้าง ตลาดหุ้นมักจะซึมกระทือ คนเลิกเล่นหุ้นกันไปส่วนใหญ่ กรอบความเคลื่อนไหวมักจะแคบๆ เพราะคนทำใจได้แล้วว่าเลี่ยงภาวะสงครามไม่ได้แน่ แต่ก็ไม่กล้าเสี่ยงเข้ามาเล่นในตลาด…ความทรมานคือการรอคอย

- ระยะที่สาม (เฟส3) นับตั้งแต่ช่วงเปิดใส่กัน ที่ผมมักเรียกว่า”กระสุนนัดแรกในสงคราม” หรือ เสียงปืนแตกนัดแรก หรือระเบิดตูมแรก ไปจนกว่าจะยุติสงคราม หรือคาดเดาได้ว่าสงครามครั้งนั้นจะมีผลลงเอยไปในทิศทางใด ก็แปลกที่ว่า ตลาดหุ้นช่วงนี้มักจะดีดตัวขึ้นแล้วก็วิ่งยาว ( rally) และไม่ช้าไม่นานมักจะขึ้นไปสร้างสถิติทำจุดสูงสุดใหม่ (new high)กันทุกครั้งไปเสียด้วย

ผมจึงเรียกปรากฏการณ์วิกฤตการณ์ต่างๆที่มีต่อตลาดหุ้นว่าเข้าข่าย “ ทฤษฎีสร้างสรรค์ในเชิงทำลาย เข้าทำนองว่าเมื่อมีการทำลายล้างสิ่งหนึ่งลงไป ก็จะเกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าตามมา

อย่างสมัยโบราณ เมื่ออาณาจักรกรีก-อียิปต์โบราณถูกทำลายลง หรือเสื่อมลง จึงเกิดอาณาจักรโรมันอันยิ่งใหญ่กว่าขึ้นทดแทน และเมื่อโรมถูกทำลายล้างลง จึงเข้าสู่ยุคกลางที่มีมหาอำนาจอังฤษเป็นแดนพระอาทิตย์ไม่ตกดิน เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเกิดมหาอำนาจใหม่คือจักรวรรดิอมเริกามาแทนที่ ดังนี้เป็นต้น

ทฤษฎีสร้างสรรค์ในเชิงทำลาย (destruction creative theory)ที่ว่า สงคราม/วินาศกรรม/วิกฤตการณ์ในระดับโลกทุกครั้ง จึงเป็นโอกาสทองทุกครั้งสำหรับนักลงทุนผู้มีพฤติกรรม contrariant หรือนักลงทุนผู้ชาญฉลาดที่หาจังหวะจับทางสวนกระแสคนส่วนใหญ่ในตลาด

"Creative Destruction" ซึ่งถ้าจะหาคำแปลที่แปลแล้วตรงๆ ตัวก็คงจะลำบาก ผมก็เลยขออนุญาตใช้คำว่า"การทำลายสิ่งเก่าลง เพื่อเกิดใหม่อย่างศิวิไลซ์กว่าเดิม" เป็นทฤษฎีของนักเศรษฐศาสตร์มาร์กซิสต์ Joseph Schumpeter โดยเขาได้เขียนไว้ในหนังสือ Capitalism, Socialism and Democracy ว่าปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันให้เกิดความมั่งคั่งของสังคม ก็คือการที่สังคมและองค์กรจะมีนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆได้นั้นจะต้องเกิดจากการลบเลือนหรือการทำลายล้างสิ่งเก่าๆ ออกไปเสียก่อน เนื่องจากภายใต้บริบทและวิธีการเดิมๆ นั้นย่อมยากที่จะเกิดนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆ ได้

ทฤษฎีนี้ต่อยอดมาจากคำแถลงที่มีชื่อเสียงอุโฆษคือ The Communist Manifesto (Marx and Engels, 1848)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น