วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

Back to the Future(อนาคตของตลาดหุ้น ณ ช่วงเวลาหนึ่งซึ่งกลับกลายเป็นอดีตไปแล้ว)






พอดีมีคนถามว่า ณัฐวุฒิดูจะมองโลกในแง่ดีมากในเวลานี้..แหมคุณไม่รู้อะไรหรอก ผมเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้ายสุดๆเมื่อกลางปีที่ผ่านมานี้เอง

(นี่เป็นส่วนหนึ่งของบทความจากหนังสือเรื่อง "คู่มือตลาดหุ้นไทย 20 ปี (2015-2035ซึ่งผมปิดต้นฉบับเมื่อวันที่6พฤษภาคม2558 ตอนนั้นดัชนีหุ้นไทยอยู่แถวๆ1,530จุดนะครับ...คำพยากรณ์อนาคตในวันนั้น มาถึงวันนี้ มันก็กลายเป็นอดีตไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว)
............................................
ส่องกล้องมองตลาดหุ้นไทย ครึ่งหลังปี 2558 อาจเจอ FUTURE SHOCK ! 

มุมมองทางเทคนิค-ครบคลื่นขาขึ้น และพีคไปแล้วเสี่ยงนรก is coming คลื่น C !?

คุณๆควรแช่งให้ผมพยากรณ์ผิดนะครับ...เพราะหากผมถูกแสดงว่าตลาดหุ้นไทยจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 แล้วก็เหมาลงตลอดครึ่งปีหลังที่เหลือในปี2558 หรือลากยาวกลางปี 2559

การตกที่ว่านี้อาจจะไม่ใช่การปรับฐานราคา (Correction) เพื่อปรับขึ้นต่อ แต่มีความน่าจะเป็นได้สูงมาก (Most Probability) ที่จะเป็นการตกในช่วงทิศทางแนวโน้มขาลง ที่เรียกว่าเป็นการร่วงลงสู่คลื่น C ซึ่งจะร่วงลงแบบชัน

เมื่อไม่อาจลบสถิติเก่า1,789จุด สร้าง All Time High ได้เหมือนอีก 2 ตลาด โซน T.I.P. ก็คงต้องจำเป็นต้องพิจารณาจากมุมมองของทฤษฏีคลื่น Elliot Wave ว่า บริเวณ 1,620 จุดที่ขึ้นมาในต้นปี 2558 นั้นซึ่งไม่สามารถสร้าง New High เกิน Previous High ที่ทำไว้เขต 1,650 จุดเมื่อปี 2556 ถือว่าเป็นคลื่น b

ทั้งนี้มีข้อยกเว้นเสียแต่ว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 (มิถุนายน-ธันวาคม2558)จะรีบขึ้นผ่านเขต 1,620 หรือ 1,650 จึงจะลบล้างภาพเชิงลบนี้ได้แล้วเปลี่ยนไปเล่นทางขึ้น

ความเสี่ยงสูงกว่าที่จะร่วงลงสู่คลื่น C เนื่องจากว่า :

1.ตลาดหุ้นโซน T.I.P.เริ่มถูกขาย และอาจเจอเงินทุนไหลออก -ในช่วงปลายเดือนเมษายน 2558 ซึ่งเป็นท้ายไตรมาส 2 นั้นมีสัญญาณขายแรงๆเกิดขึ้นใน 2 ตลาดโซน T.I.P.คือฟิลิปปินส์กับอินโดนีเซีย โดยเฉพาะอินโดนีเซีย เหมือนจะเกิดการเปลี่ยนแนวโน้มจากทิศทางขาขึ้นไปเป็นขาลง ฟิลิปปินส์ก็ส่อเค้าไปทางนั้น

ข้อพิจารณามีอยู่ว่า 

โซน T.I.P. ที่เคยได้อานิสงส์จาก Fund in Flow ( ทุนไหลเข้า ) ทำให้หุ้นขึ้นมาเป็นโซนแชมป์โลกในรอบนี้ ( จากปี 2551-2558 ) ดังนั้นหาก Hedge Fund จะขายทำกำไรและขนเงินทุนไหลออก ( Fund out Flow ) ก็น่าจะส่งผลกระทบให้ ฟองสบู่ตลาดหุ้น T.I.P. รวมทั้งหุ้นไทย ( ที่เกิดฟองสบู่ในหุ้นใหม่ IPO ขนานใหญ่ ในปีพ.ศ.2557 ) แตก หรือเหี่ยวเฉาลง

ตลาดหุ้นไทยเคยเจอทุนไหลออกครั้งสำคัญมา 2 หนคือครั้งฟองสบู่แตกปี 2540 และครั้งปี 2550-2551 และส่งผลให้ตลาดหุ้นร่วงลงแรงหนักและลึกที่เรียกว่าคลื่น C มาทั้ง 2 หน

2.เงินทุนไหลออกไปยังตลาดหุ้น อเมริกา, ยุโรป, จีน, ญี่ปุ่น ?

3. เศรษฐกิจแย่ , ส่งออกติดลบมาตรการดอกเบี้ยและค่าบาทอ่อน (ระวังมาตรการช็อกตลาดไว้ด้วยหละครับ)

4. ปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองสูงขึ้น

*เป้าหมายของการร่วงลง และ Bear Market Strategy 

หากทิศทางตลาดจะปรับตัวเป็นขาลงสู่คลื่น C จริง ๆนั้น น่าจะมีสัญญาณต่าง ๆ เหล่านี้ให้เห็นคือ

1) ตลาดโซน T.I.P. ตกลงแรง ๆ

2) ค่าเงินบาทและค่าเงินสกุลรูเปียห์ อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ เปโซอ่อนลง , นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิออกมาต่อเนื่องและขายหนัก

3)ดัชนี SET แกว่งฟอร์มตัวในรูปแบบสามเหลี่ยมแบบ Descending Triangle (จุด High ลดต่ำลง แต่ทำจุด Low ลดลง) เช่นขึ้นไปไม่เกินเขต 1,570-1620 แต่เวลาตกลงมาลึกกว่า 1,480 และหากทำจุดต่ำกว่าแถว 1,480 ก็น่าจะตามมาด้วยการเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาลง

โดยคาดการณ์ว่าจะตกลงไปเป้าหมายต่าง ๆ คือ

เป้าแรก 1,425 จุด
เป้าสอง 1,375 – 1350 จุด
เป้าสาม 1,200 จุด
เป้าสี่ หลุด 1,000 จุด

เป้าหมายต่ำสุดปลายคลื่นC น่าจะเกินบริเวณแถว ๆ 700 จุด +/ - (ตามทฤษฎีคลื่นและนัยสำคัญทางสถิติที่บ่งชี้ว่าปลายคลื่นC จะอยู่ไม่ลึกกว่าฐานของคลื่น 2 ทั้งนี้ฐานของคลื่น 2 อยู่บริเวณ 650 จุดในราวช่วงเดือน พฤษภาคม 2553 ดังนั้นจึงควรคาดว่ากรณี The worst case Scenario ของการร่วงลงสู่คลื่น C นั้นในเที่ยวนี้น่าจะไม่ลึกกว่า 700 จุด+/-

-ส่วนระยะเวลาการตก ให้อิงช่วงเวลากับโซน T.I.P (หากอินโดฯ กับฟิลิปปินส์ก็ตกพร้อมกัน) และอิงปัจจัยทางการเมือง คือรอจนกว่าความขัดแย้งเรื่องรัฐธรรมนูญใหม่คลี่คลาย หรือกติกา และวันเวลาเลือกตั้งที่ชัดเจนบางทีอาจกินเวลาราวครึ่งป

ช้าหน่อยก็ 1 ปี (คือตกไปถึงสิ้นปี 2558 หรือไปถึงกลางปี 2559)

กลยุทธ์ลงทุนในตลาดขาลง (Bear Market Strategy )

1. หากคุณถือครองหุ้นที่อิงทิศทางเดียวกันกับตลาดรวม (อิง SET) ให้ขายเพื่อปกป้องความเสี่ยงของขาลง

เช่นหากคุณมีหุ้นพวกที่อยู่ใน SET 50 หรือ SET 100 ที่ขึ้นต้องลงตามตลาด หาก SET ขึ้นไปไม่เกินเขต 1,570 หรือขึ้นไปไม่ผ่าน 1,600 แม้แต่ไม่ผ่าน 1,650 ให้ขายทำกำไร หรือหากตกลงมาทำจุดต่ำกว่า 1,480 ให้ขายรักษาทุน หรือ Stop loss หรือแม้แต่ยืมหุ้นมาทำ Short Sell หรือถือครองสถานะ Short สำหรับ trader ที่เทรด Set 50 Futures

2. ไม่แนะนำให้ซื้อทุกกรณี 

ไม่ว่าจะซื้อถัวเฉลี่ย เมื่อติดหุ้น เพราะคุณเสี่ยงจะนำเงินไปจมเพิ่มมากขึ้น , ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสะสมหุ้นพื้นฐานดี ลงทุนยาวหากหุ้นนั้นเป็นหุ้น “ตลาด” (ขึ้นหรือลงตาม SET)’ เพราะราคายังจะตกต่ำอีก ยังจะมีส่วนลดอีกมาก , ไม่ว่าจะเป็นการซื้อเล่นสั้น หวัง Rebound เนื่องจากตลาดขาลง (Downtrend) นั้น เวลาขึ้นมันขึ้นนิดเดียว คุณก็ไม่อยากขายพอลงทีมันลงลิฟต์ล้ำทุนคุณลงไป คุณไม่อยากขายก็กลายเป็นคนติดหุ้น

ผมว่าน่าซื้อกรณีเดียว 

คือกรณีผมผิด ตลาดหักปากกาเซียนวิ่งขึ้นเกิน 1,600 หรือเกิน 1,650 จุด กรณีนั้นจะขึ้นยาวเลยครับไปโน่นเลย 1,800 –2,000 จุด ผมไม่กลัวเสียหน้าหรือเสียชื่อเพราะฟันธงผิดหรอกครับ ผมมันก็คนธรรมดา ผิดมาก็มาก ถูกมาก็เยอะ ผมพร้อมจะกลับลำฟันธงว่า “ผมผิดครับ ให้กลับมาซื้อ Follow Buy ดีกว่าไม่ลงคลื่น C แล้วครับ ผมอ่านวิเคราะห์คลื่นผิดไปเองครับ...”

หรืออีกกรณีลงไปไม่หลุดด่าน1,200 แล้วฟอร์มตัวซิกแซ็กSideWay upขึ้นไปเขต1,600จุด แล้วขึ้น ...ก็แสดงว่าผมนับคลื่นผิด(ตรงนี้ไม่ใช่aลงมาbแต่เป็น3ใหญ่ปรับฐานลงมา4ใหญ่..)

แล้วไง! ณัฐวุฒิทำแบบนี้ลูกค้าก็แย่สิ... ไม่แย่ครับ หากผมถูก คุณได้ขายแถวดัชนี 1,500-1,600 จุด รูดลงไป C เขต 700 ช่วยคุณรักษากำไรรักษาทุนไว้ 50% แต่หากผมผิดขึ้นไปเกิน 1,600-1,650 คุณขายหมูเต็มที่ไม่ถึง 5% แล้วคุณไปซื้อคืนใหม่เหนือ 1,600ไปรอขาย 1,800 – 2,000 คุณได้กำไรกลับมา 20-30%

สรุปว่าคุ้มเสี่ยง, คุ้มค่าน่าทำ

3. ลดพอร์ตการลงทุนลง , นำเงินไปพักในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ 
หรือหุ้น Defensive Stock-ปัญหาที่มักตามมาของนักลงทุนในช่วงตลาดขาลงก็คือว่า เมื่อขายหุ้นมีเงินสดในมือไม่ได้ เกิดอาการ “คัน” ลืมกติกาง่าย ๆ ว่าตลาดขาขึ้นให้มีหุ้นในมือ , ตลาดขาลงให้กอดเงินสดไว้ในมือ อดแหย่ อดซื้อไม่ได้ ชอบมองว่าราคามันลงมาต่ำแล้ว เอาไปเอามาก็ติดหุ้น พอติดนานเห็นบัญชีแดงทุกวัน เครียดหนัก เอาไปเอามาลงไปกินทุนระดับ 40-50% ก็หมดใจขาย เสียหายหนัก

ดังนั้นผมขอแนะนำ ให้เอาเงินออกจากตลาดหุ้นโยกไปเข้าสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ อย่างตลาดตราสารการเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าฝากแบงก์ ความเสี่ยงต่ำมาก ๆ หรือตลาดตราสารหนี้ก็ดีกว่าฝากแบงก์ ดีกว่าตลาดตราสารการเงินสภาพคล่องก็ดี ซื้อก็ง่ายขายก็คล่องผ่านกองทุนนะครับ

หรืออีกทางก็โยกเงินไปซื้อหุ้น Defensive Stock คือพวกกิจการสาธารณูปโภคอย่างน้ำ (TTW) ,ไฟ (EGCO RATCH) , ทางด่วน (BECL) รถไฟฟ้า (BTS), สนามบิน (AOT)... แต่ก็ว่านะครับ แม้จะได้ชื่อว่าหุ้น Defensive คือเป็นกิจการสาธารณูปโภค ถึงผูกขาด รายได้-กำไรตายตัวมีปันผลดี แต่หุ้นพวกนี้ก็ไม่วายขึ้นหรือลงตามตลาด เราไปซื้อหวังจะพักเงินไว้ได้ปันผล 5-7 % ก็ยังดี ปรากฏเวลาตลาดลงดันร่วงกับเขาอีก 20-30% ก็ลำบากเหมือนกันครับ...

4. รอตลาดลงจนจบ Complete มีสัญญาณเปลี่ยนแนวโน้มขึ้น ค่อยกลับมาซื้อหุ้น 

ลองกลับไปอ่าน PART III เรื่องแนวโน้มขาลงและแนวโน้มขาขึ้น จะเข้าใจมากขึ้นว่าทำไมผมแนะนำแบบนี้

แม้ว่าผมจะทำนายเป้าหมายลงคลื่น C ไว้เป็นทางตั้งแต่ 1,425 ไปยันกรณีลึกสุด 700 จุด แต่อย่าลืมว่านี่คือการพยากรณ์นะครับ ถ้าแม่นก็ดีไป คุณรอ 700 ค่อยซื้อ แต่หากห่างเป้าเยอะก็แย่หละครับ ดังนั้นให้ดูว่าเมื่อไหร่ที่ดัชนี SET ไม่ลงทำ New Low แล้ว เช่น ไม่หลุดฐาน1,200ที่เคยทำไว้ตอนต้นปี2557 และเริ่มทำฐานจุด Low ยกสูงขึ้น และเริ่มทำจุด High เป็นสถิติ New High ได้เป็นครั้งแรกก็เมื่อนั้นแหละครับ แปลว่าตลาดได้ลงจนจบแล้ว ลง Complete แล้ว และผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว (Bottom Out) ก็ค่อยซื้อ

ตามวิธีนี้คุณอาจไม่ได้ซื้อในราคาต่ำสุด แต่แน่ใจได้ว่าจุดต่ำสุดผ่านพ้นไปแล้ว ต่อไปก็จะเป็นขาขึ้นรอบใหม่แหละครับ

...............
อ่านมุมมองตลาดหุ้นล่าสุดของผม:
MARKET OUTLOOK 2016-มุมมองทางเทคนิคต่อตลาดหุ้นไทยปี2559-กรอบแกว่งระหว่าง1,200กับ1,600จุด ยกเว้นแต่ว่า...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น