วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

มองไปนอกหน้าต่าง ประเทศกรุงเทพฯและความแปลกแยก

รูปภาพ : ประเทศกรุงเทพฯ- ผมอยู่กับมันมา20กว่าปี แต่ก็ยังแปลกแยกเสมอกับประเทศกรุงเทพฯ คนในประเทศนี้"ส่วนหนึ่ง"โหวตให้เจ้าของซ่องใหญ่ที่สุดรายหนึ่ง แต่ก็ยังทะลึ่งบอกว่า คนนอกประเทศกรุงเทพฯยังมีวิจารณญาณไม่ดีพอในการเลือกผู้แทนของพวกเขา..

เท่าที่ผมจำความได้ในการเลือกตั้งหนแรกๆที่ผมโตจำความทัน แถวบ้านผมมีลุงคนหนึ่งมาแจกใบปลิวแล้วเขียนคำอะไรยากๆมากเช่น ฟาสซิสม์ ศักดินา ขุนศึก คนบ้านผมเลือกแกไปเป็นส.ส.ครับ เราเด็กๆช่วยนำไปปลิวไปติดตามที่ต่างๆ ในเวลาต่อมาลุงคนนี้หนีเข้าป่าไปจับปืนสู้กับรัฐบาล

ในพ.ศ.นั้นมีคนพูดกันว่าคนบ้านผมพากันเลือกคอมมิวนิสต์ไปเป็นผู้แทน ต่ีอมาคนบ้านผมเลยเลือกเศรษฐีแบบคุณพงศ์ สารสิน แล้วก็คุณสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์(ไม่รู้เป็นญาติคุณเพชรไหม) คุณอำนวย วีรวรรณ คนบ้านผมก็โดนว่าอีกว่า ทำไมเลือกนายทุนเป็นผู้แทนฯ..

คือไม่ว่าเราจะเลือกคอมมิวนิสต์ หรือเลือกนายทุน เราก็มีสิทธิที่จะถูกบอกว่าไม่มีวิจารณญาณที่ดีพอทั้งนั้น

แน่นอนว่าเราไม่เคยถามว่าทำไมคนกรุงเทพฯเลือกคุณสมัคร เฉลิม คุณจำลอง คุณชูวิทย์ เพราะคนกรุงเทพฯฉลาด เขาคงเลือกอะไรที่ฉลาดๆแล้ว
......

เปล่าครับ ผมไม่ได้เล่าเรื่องคนต่างจังหวัดตั้งรัฐบาล คนกรุงเทพฯไล่รัฐบาล

ผมเล่าให้ฟังว่า ความจริงแล้วคนบ้านผมนั้นเขาเลือกผู้แทนตามสถานการณ์ากล(Community World) ตามกระแสเศรษฐกิจการเมือง ณ เวลานั้นๆ

ในยุคสงครามเย็น กระแสสากลเป็นเรื่องของทุนนิยมVSสังคมนิยม..คนบ้านผมเลือกผู้แทนพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย,พรรคแนวร่วมสังคมนิยมแห่งประเทศไทย หรือซ้ายอ่อนๆแบบพลังใหม่ของหมอกระแส

ในยุคปลายประชาธิปไตยครึ่งใบ เกิดความขัดแย้งระหว่างป๋าเปรมVSพลเอกอาทิตย์ ..คนบ้านผมเลือกโหวตให้พรรคพลเอกอาทิตย์ เราไม่เอาป๋าเปรม เราอยากเป็นประชาธิปไตย

ในยุคNICs..เราเลือกคุณพงศ์ คุณสุรัตน์ คุณอำนวย เศรษฐีจากกรุงเทพฯ เพื่อหวังจะพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ เพราะคนบ้านผมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาดเต็มรูปแบบแล้ว

.........

แต่ผมสังเกตว่าการเลือกของคนกรุงเทพฯนั้นแปลกๆสวิงไปมา และเลือกตามภาพลักษณ์ว่า"ดูดี"หรือเปล่า?

คนประเทศกรุงเทพฯ เคยคลั่งไคล้ไหลหลงมหาจำลอง เพราะแบกะดิน(และมีศีลธรรม)ก็แห่เลือกถล่มทลาย 

ในเวลาต่อมาคนๆเดียวกันนี้ก็ไม่เอามหาจำลอง หันไปโหวตให้คุณสมัคร(ซึ่งเป็นคู่แข่งคุณจำลองนั่นแหละ)ชนะเกินล้าน หันไปเลือกชูวิทย์(ที่มีภาพลักษณ์ตรงข้ามกับมหาจำลอง)

.......
ความจริงคนบ้านนอก(ยกตัวอย่างบ้านผมแล้วกัน) เขามีเหตุผลของเขาเหมือนกัน แต่เหตุผลนั้นต่างจากคนกรุงเทพฯ เรายึดโยงกับสถานการณ์สากลและสถานการณ์บ้านเมืองในเรื่องการเมือง&เศรษฐกิจ และวิถีการผลิต

ไม่ใช่้เรื่องภา่พลักษณ์ที่"ดูดี"(หรือไม่ดี)แบบที่เป็นค่านิยมและวิถีแบบคนในประเทศกรุงเทพฯ

ข้อสังเกตของผมคือคนกรุงเทพฯนั้นทางรัฐจัดให้เหลือเฟือแล้ว ก็อาจไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องว่าเลือกผู้แทนไปแล้วจะไปมีผลได้ผลเสียอย่างไรกับวิถีชีวิตของตัวเอง จึงมักเน้นไปที่ภาพลักษณ์(ดีหรือเลว) ขณะที่คนบ้านผมนั้นการเลือกผู้แทนฯนั้น มันหมายถึงวิถีการผลิต วิถีเศรษฐกิจปากท้องและความเป็นอยู่ของเรา

ก็เป็นแง่มุมหนึ่งที่ผมเล่าให้ฟัง แน่นอนว่ายังมีอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ได้มีน้ำหนักมากเท่าที่ผมให้ข้อสังเกตมานี้
ประเทศกรุงเทพฯ- ผมอยู่กับมันมา20กว่าปี แต่ก็ยังแปลกแยกเสมอกับประเทศกรุงเทพฯ คนในประเทศนี้"ส่วนหนึ่ง"โหวตให้เจ้าของซ่องใหญ่ที่สุดรายหนึ่ง แต่ก็ยังทะลึ่งบอกว่า คนนอกประเทศกรุงเทพฯยังมีวิจารณญาณไม่ดีพอในการเลือกผู้แทนของพวกเขา..

เท่าที่ผมจำความได้ในการเลือกตั้งหนแรกๆที่ผมโตจำความทัน แถวบ้านผมมีลุงคนหนึ่งมาแจกใบปลิวแล้วเขียนคำอะไรยากๆมากเช่น ฟาสซิสม์ ศักดินา ขุนศึก คนบ้านผมเลือกแกไปเป็นส.ส.ครับ เราเด็กๆช่วยนำไปปลิวไปติดตามที่ต่างๆ ในเวลาต่อมาลุงคนนี้หนีเข้าป่าไปจับปืนสู้กับรัฐบาล

ในพ.ศ.นั้นมีคนพูดกันว่าคนบ้านผมพากันเลือกคอมมิวนิสต์ไปเป็นผู้แทน ต่ีอมาคนบ้านผมเลยเลือกเศรษฐีแบบคุณพงศ์ สารสิน แล้วก็คุณสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์(ไม่รู้เป็นญาติคุณเพชรไหม) คุณอำนวย วีรวรรณ คนบ้านผมก็โดนว่าอีกว่า ทำไมเลือกนายทุนเป็นผู้แทนฯ..

คือไม่ว่าเราจะเลือกคอมมิวนิสต์ หรือเลือกนายทุน เราก็มีสิทธิที่จะถูกบอกว่าไม่มีวิจารณญาณที่ดีพอทั้งนั้น

แน่นอนว่าเราไม่เคยถามว่าทำไมคนกรุงเทพฯเลือกคุณสมัคร เฉลิม คุณจำลอง คุณชูวิทย์ เพราะคนกรุงเทพฯฉลาด เขาคงเลือกอะไรที่ฉลาดๆแล้ว
......

เปล่าครับ ผมไม่ได้เล่าเรื่องคนต่างจังหวัดตั้งรัฐบาล คนกรุงเทพฯไล่รัฐบาล

ผมเล่าให้ฟังว่า ความจริงแล้วคนบ้านผมนั้นเขาเลือกผู้แทนตามสถานการณ์ากล(Community World) ตามกระแสเศรษฐกิจการเมือง ณ เวลานั้นๆ

ในยุคสงครามเย็น กระแสสากลเป็นเรื่องของทุนนิยมVSสังคมนิยม..คนบ้านผมเลือกผู้แทนพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย,พรรคแนวร่วมสังคมนิยมแห่งประเทศไทย หรือซ้ายอ่อนๆแบบพลังใหม่ของหมอกระแส

ในยุคปลายประชาธิปไตยครึ่งใบ เกิดความขัดแย้งระหว่างป๋าเปรมVSพลเอกอาทิตย์ ..คนบ้านผมเลือกโหวตให้พรรคพลเอกอาทิตย์ เราไม่เอาป๋าเปรม เราอยากเป็นประชาธิปไตย

ในยุคNICs..เราเลือกคุณพงศ์ คุณสุรัตน์ คุณอำนวย เศรษฐีจากกรุงเทพฯ เพื่อหวังจะพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ เพราะคนบ้านผมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจการตลาดเต็มรูปแบบแล้ว

.........

แต่ผมสังเกตว่าการเลือกของคนกรุงเทพฯนั้นแปลกๆสวิงไปมา และเลือกตามภาพลักษณ์ว่า"ดูดี"หรือเปล่า?

คนประเทศกรุงเทพฯ เคยคลั่งไคล้ไหลหลงมหาจำลอง เพราะแบกะดิน(และมีศีลธรรม)ก็แห่เลือกถล่มทลาย

ในเวลาต่อมาคนๆเดียวกันนี้ก็ไม่เอามหาจำลอง หันไปโหวตให้คุณสมัคร(ซึ่งเป็นคู่แข่งคุณจำลองนั่นแหละ)ชนะเกินล้าน หันไปเลือกชูวิทย์(ที่มีภาพลักษณ์ตรงข้ามกับมหาจำลอง)

.......
ความจริงคนบ้านนอก(ยกตัวอย่างบ้านผมแล้วกัน) เขามีเหตุผลของเขาเหมือนกัน แต่เหตุผลนั้นต่างจากคนกรุงเทพฯ เรายึดโยงกับสถานการณ์สากลและสถานการณ์บ้านเมืองในเรื่องการเมือง&เศรษฐกิจ และวิถีการผลิต

ไม่ใช่้เรื่องภา่พลักษณ์ที่"ดูดี"(หรือไม่ดี)แบบที่เป็นค่านิยมและวิถีแบบคนในประเทศกรุงเทพฯ

ข้อสังเกตของผมคือคนกรุงเทพฯนั้นทางรัฐจัดให้เหลือเฟือแล้ว ก็อาจไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องว่าเลือกผู้แทนไปแล้วจะไปมีผลได้ผลเสียอย่างไรกับวิถีชีวิตของตัวเอง จึงมักเน้นไปที่ภาพลักษณ์(ดีหรือเลว) ขณะที่คนบ้านผมนั้นการเลือกผู้แทนฯนั้น มันหมายถึงวิถีการผลิต วิถีเศรษฐกิจปากท้องและความเป็นอยู่ของเรา

ก็เป็นแง่มุมหนึ่งที่ผมเล่าให้ฟัง แน่นอนว่ายังมีอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่ได้มีน้ำหนักมากเท่าที่ผมให้ข้อสังเกตมานี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น